ข้อ ๑. สมาคมนี้มีชื่อว่า สมาคมอุทยานแห่งชาติ มีอักษรย่อว่า สอช. และมีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า The National Parks Association of Thailand ใช้อักษรย่อว่า NPAT
ข้อ ๒. เครื่องหมายหรือตราประทับของสมาคมเป็นรูป “ภูเขาและสายน้ำ” มีตัวอักษรคำว่า “สมาคมอุทยานแห่งชาติ” และ “The National Parks Association of Thailand” ดังนี้
ข้อ ๓. คำนิยามคำว่า “อุทยานแห่งชาติ (National Parks)” ในข้อบังคับนี้หมายถึง พื้นที่ที่เป็นธรรมชาติซึ่งได้รับการประกาศจัดตั้งเพื่อให้เป็นแหล่งสงวนความหลากหลายทางชีวภาพ และมีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน และพื้นที่คุ้มครองประเภทอื่นๆ
ข้อ ๔. สำนักงานตั้งอยู่ ณ ห้อง ๖๐๒ ชั้น ๖ ตึกวนศาสตร์ ๖๐ ปี คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐
ข้อ ๕. วัตถุประสงค์
หมวดที่ ๒
สมาชิก
ข้อ ๖. สมาชิกของสมาคม มี ๓ ประเภท คือ
๖.๑. สมาชิกสามัญ คือ บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคม
๖.๒. สมาชิกวิสามัญ คือ องค์กรนิติบุคล ชมรม กลุ่มคนทั่วไป หรือ นิสิต
นักศึกษา ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมของสมาคม
๖.๓. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติหรือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มี
อุปการะคุณแก่สมาคม ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ
สมาคม
ข้อ ๗. สมาชิกต้องมีคุณสมบัติครบทุกประการ ดังนี้
๗.๑. เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว และมีความประพฤติเรียบร้อย
๗.๒. ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความ
สามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาท
หรือลหุโทษ การต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดในกรณีดังกล่าวจะต้องเป็นในขณะที่
สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น
๗.๓. ในกรณีสมาชิกวิสามัญที่เป็นองค์กร ต้องเป็นองค์กรที่ทำกิจกรรมหรือ
สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ
ข้อ ๘. ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม
๘.๑. สมาชิกสามัญ ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมตลอดชีพ
มีอัตราไม่น้อยกว่า ๕๐๐ บาท
๘.๒. สมาชิกวิสามัญ ค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมตลอดชีพ
มีอัตราไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ บาท
๘.๓. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงแต่อย่างใด
๘.๔. ให้ยกเว้นค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม แก่นิสิตหรือนักศึกษา
ตลอดช่วงการศึกษาระดับปริญญาตรี
ข้อ ๙. การเป็นสมาชิก
๙.๑. ให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกสามัญและวิสามัญ ยื่นใบสมัครตามแบบฟอร์มของ
สมาคม ต่อเลขาธิการสมาคม
๙.๒. ให้เริ่มนับเป็นสมาชิกประเภทสามัญหรือวิสามัญของผู้สมัคร ตั้งแต่วันที่ผู้
สมัครได้ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคม ต่อเลขาธิการสมาคม
๙.๓. ให้เริ่มนับสมาชิกภาพของสมาชิกประเภทกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับ
หนังสือตอบรับคำเชิญ
ข้อ ๑๐. ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ดังนี้
๑๐.๑. ตาย
๑๐.๒. ลาออก
๑๐.๓. ขาดคุณสมบัติสมาชิก ตามข้อ ๗.
๑๐.๔. คณะกรรมการสมาคม มีมติให้ลบชื่อออกจากทะเบียนสมาชิก เพราะมีการ
พิสูจน์ทราบแล้วว่าสมาชิกรายนั้นได้กระทำการอันนำมาซึ่งความเสียหายแก่สมาคม
ข้อ ๑๑. สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
๑๑.๑. มีสิทธิใช้สถานที่ อุปกรณ์ และ สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่สมาคมจัดไว้
สำหรับสมาชิก
๑๑.๒. มีสิทธิเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของสมาคม
๑๑.๓. มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่สมาคมจัดให้มีขึ้น
๑๑.๔. สมาชิกมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งนายกสมาคม ได้ ๑ คะแนนเสียง
๑๑.๕. สมาชิกสามัญ มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อ
เสนอแนะต่างๆ และออกเสียงลงมติในที่ประชุมได้ ๑ คะแนนเสียง
๑๑.๖. สมาชิกสามัญเท่านั้น ที่มีสิทธิได้รับการเลือกหรือแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ
อนุกรรมการ คณะทำงาน เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานของสมาคม
๑๑.๗. มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการสมาคม เพื่อการตรวจสอบกิจการและบัญชี
ทรัพย์สินของสมาคม ในระหว่างเวลาทำการของสมาคม
๑๑.๘. มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย ๑ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญทั้งหมดหรือไม่
น้อยกว่า ๕๐ คน เสนอคณะกรรมการพิจารณาจัดการประชุมวิสามัญ
ข้อ ๑๒. หน้าที่ของสมาชิก
๑๒.๑. มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบอื่นๆ ของสมาคม
๑๒.๒. มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการของสมาคม
๑๒.๓. มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
๑๒.๔. มีหน้าที่ช่วยประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จัก
หมวดที่ ๓
การดำเนินกิจกรรมของสมาคม
ข้อ ๑๓. ให้นายกสมาคมที่เป็นสมาชิกสามัญไม่ใช่นักการเมือง มาจากการเลือกตั้งของที่
ประชุมใหญ่ของสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะกรรมการและเป็นผู้แต่งตั้งอุปนายก
เหรัญญิก เลขาธิการและกรรมการอื่นๆ อีกไม่น้อยกว่า ๙ คน แต่ไม่เกิน ๑๗ คน เพื่อทำ
หน้าที่เป็นคณะผู้บริหารกิจการของสมาคม
ข้อ ๑๔. คณะกรรมการสมาคมมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
๑๔.๑. กำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงาน และจัดกิจกรรมแสวงหาเงินทุนและ
รายได้ในการดำเนินงานของสมาคม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติที่ประชุม
ใหญ่ของสมาคม
๑๔.๒. รายงานผลการปฏิบัติงาน และงบดุลเงินประจำปีต่อ ที่ประชุมใหญ่สามัญ
ประจำปี
๑๔.๓. ออกระเบียบหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสมาคมให้มี
ประสิทธิภาพ และอาจปรับปรุงข้อบังคับของสมาคมให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
๑๔.๔. แต่งตั้งอนุกรรมการและหรือคณะทำงาน ที่มาจากสมาชิกสามัญของสมาคม
เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะด้านตามวัตถุประสงค์ (ข้อ ๕.) โดยมีวาระเท่ากับ
วาระที่เหลือของคณะกรรมการสมาคม หรือเมื่อภารกิจเสร็จสิ้นสมบูรณ์
๑๔.๕. มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
๑๔.๖. มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการต่างๆ รวมทั้งเรื่องการเงินและทรัพย์สินทั้งหมด
ของ สมาคม
๑๔.๗. มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกจำนวน ๑ ใน ๓ หรือไม่
น้อยกว่า ๕๐ คน ได้เข้าชื่อร้องขอให้มีการจัดประชุมวิสามัญขึ้น และจะต้องให้มีการ
ประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน ๔๕ วัน นับตั้งแต่วันได้รับหนังสือร้องขอ
๑๔.๘. มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ทรัพย์สิน และการ
ดำเนินกิจกรรมต่างๆของสมาคม รวมถึงบันทึกการประชุมทุกครั้งพร้อมที่จะให้สมาชิก
ตรวจสอบได้เมื่อมีการร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษร
๑๔.๙. สรรหาและจัดจ้างบุคคลให้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามความเหมาะสม โดยให้
มีวาระการจ้างเท่ากับวาระของคณะกรรมการ หรือตามมติของคณะกรรมการสมาคม
๑๔.๑๐. แต่งตั้งที่ปรึกษาสมาคม โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของคณะ
กรรมการหรือมติของคณะกรรมการ
๑๔.๑๑. กำกับ ควบคุม และประเมินผล การปฏิบัติงานของเลขาธิการและเจ้าหน้าที่
ปฏิบัติงานของสมาคม
๑๔.๑๒. หน้าที่อื่นๆ ตามข้อบังคับหรือมติที่ประชุมใหญ่ของสมาคม
ข้อ ๑๕. การประชุมคณะกรรมการสมาคม
๑๕.๑. ให้มีการประชุมคณะกรรมการสมาคม อย่างน้อย ๑ ครั้งในช่วงเวลา ๒ เดือน
หรือ อย่างน้อย ๖ ครั้งในช่วงเวลา ๑ ปี
๑๕.๒. องค์ประชุมของคณะกรรมการสมาคม ต้องมีจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน
กรรมการทั้งคณะ
๑๕.๓. มติของที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
๑๕.๔. ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกไม่อยู่ในที่ประชุม
หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกประธานในการ
ประชุม
ข้อ ๑๖. คณะกรรมการสมาคมอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ๔ ปี และเมื่อครบกำหนดตาม
วาระแล้ว ก็ให้รักษาการไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการสมาคมชุดใหม่จะได้รับใบ
สำคัญแสดงการจดทะเบียนจากทางราชการเรียบร้อยแล้ว จึงให้คณะกรรมการสมาคมชุด
รักษาการส่งมอบงานให้แก่คณะกรรมการสมาคมชุดใหม่ให้เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน
ข้อ ๑๗. กรรมการจะพ้นจากการดำรงตำแหน่งเมื่อ
๑๗.๑. ตาย
๑๗.๒. ลาออก
๑๗.๓. ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ตามข้อ ๑๖.
๑๗.๔. สิ้นสุดจากสมาชิกภาพ
๑๗.๕. กรรมการ ๒ ใน ๓ ของที่ประชุมคณะกรรมการสมาคมมีมติให้ออก
ข้อ ๑๘. กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำเหน่งกรรมการสมาคม ให้ยื่นใบลาออกเป็น
ลายลักษณ์อักษรต่อนายกสมาคม และนายกสมาคมแจ้งให้คณะกรรมการสมาคมรับทราบ
หมวดที่ ๔
การประชุมใหญ่
ข้อ ๑๙. การประชุมใหญ่ของสมาคม มี ๒ ประเภท คือ
๑๙.๑. ประชุมใหญ่สามัญ
๑๙.๒. ประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ ๒๐. คณะกรรมการสมาคมจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีๆ ละ ๑ ครั้ง
ข้อ ๒๑. การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจัดให้มีขึ้นเนื่องจากคณะกรรมการมีมติเห็นสมควร
หรือโดยการร้องขอเป็นลายลักษณ์อักษรของสมาชิก ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวน
สมาชิกสามัญ หรือไม่น้อยกว่า ๕๐ คน และต้องจัดให้มีการประชุมภายใน ๔๕ วัน นับ
ตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
ข้อ ๒๒. ให้เลขาธิการสมาคมเป็นผู้แจ้งกำหนดวันประชุมใหญ่ พร้อมระเบียบวาระการ
ประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้สมาชิกได้รับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรทางไปรษณีย์
หรือวิธีอื่น โดยระบุวัน เวลา และสถานที่เป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน และปิด
ประกาศไว้ ณ ที่ทำการของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน ก่อนถึงวันประชุมใหญ่
ข้อ ๒๓. การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
๒๓.๑. แถลงการดำเนินงานที่ผ่านมาในรอบปี พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก
๒๓.๒. แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับ
ทราบ
๒๓.๓. เลือกตั้งนายกสมาคม กรณีที่ครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง
๒๓.๔. เลือกตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
๒๓.๕. เรื่องอื่นถ้ามี
ข้อ ๒๔. ในการประชุมใหญ่ ต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุม อย่างน้อย 1 ใน 3 ของ
จำนวนสมาชิกสามัญ หรือไม่น้อยกว่า ๕๐ คน จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อครบ
กำหนดเวลาการประชุมยังมีสมาชิกเข้าร่วมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการของ
สมาคมเรียกประชุมใหม่อีกครั้งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน ๑๔ วัน นับตั้งแต่วันที่นัด
ประชุมครั้งแรก สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวน
เท่าใด ก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของ
สมาชิก ก็ให้ถือว่าเป็นการยกเลิกการประชุม
ข้อ ๒๕. การลงมติต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้า
คะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๖. สมาชิกจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมหรือออกเสียงแทนไม่ได้
ข้อ ๒๗. ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติ
หน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน
การประชุม
หมวดที่ ๕
การเงิน และทรัพย์สิน
ข้อ ๒๘. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการสมาคม
เงินสดของสมาคมให้นำฝากไว้ในธนาคารพาณิชย์ สาขาใดสาขาหนึ่ง หรือตามที่คณะ
กรรมการสมาคมกำหนด
ข้อ ๒๙. การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม
ร่วมกับลายมือชื่อของเหรัญญิกหรือเลขาธิการสมาคม พร้อมประทับตราของสมาคม จึง
ถือว่าสมบรูณ์
ข้อ ๓๐. นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคม ครั้งละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้า
หมื่นบาทถ้วน) ถ้าจำเป็นต้องจ่ายเกินกว่านั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะ
กรรมการสมาคมก่อน
ข้อ ๓๑. เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท (สอง
หมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมในโอกาส
แรกที่ทำได้
ข้อ ๓๒. เหรัญญิก จะต้องจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตาม
หลักการบัญชี การรับ-จ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐาน ลงลายมือชื่อของนายกสมาคม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย พร้อมประทับตรา
สมาคมทุกครั้ง
ข้อ ๓๓. ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และได้รับอนุญาตให้
ดำเนินการตรวจสอบบัญชีของสมาคม อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
ข้อ ๓๔. ผู้สอบบัญชี มีอำนาจเรียกเอกสารเกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากเหรัญญิก
และมีสิทธิขอให้เหรัญญิก กรรมการ และเจ้าหน้าที่ของสมาคม มอบรายละเอียดเกี่ยวกับ
บัญชีและทรัพย์สินของสมาคมเพิ่มเติมได้
ข้อ ๓๕. ปีงบประมาณของสมาคม ให้สิ้นสุดลงในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี
หมวดที่ ๖
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม
ข้อ ๓๖. ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และที่
ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิก
สามัญของสมาคม หรือไม่น้อยกว่า ๕๐ คน มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลง
แก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วม
ประชุม
ข้อ ๓๗. การเลิกสมาคม จะเลิกได้ต่อเมื่อเป็นมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้น
เป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติที่ประชุมใหญ่ให้เลิกสมาคม จะต้องมีคะแนนเสียง
ไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุม หรือไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
ข้อ ๓๘. การเลิกสมาคมตามข้อ ๓๗. ให้คณะกรรมการที่อยู่ในตำแหน่งขณะที่มีการเลิก
สมาคม แจ้งการเลิกสมาคมต่อนายทะเบียน ภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเลิก
สมาคม
ข้อ ๓๙. ในกรณีที่มีการเลิกสมาคม ให้มีการชำระบัญชีสมาคม และให้นำบทบัญญัติใน
บรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด
และบริษัทจำกัด แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชี
สมาคมโดยอนุโลม
ข้อ ๔๐. เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด จะแบ่งให้แก่สมาชิกไม่ได้
ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ
มูลนิธิ หรือสมาคมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้
ทรัพย์สินที่เหลือตกเป็นของแผ่นดิน